salonnavigator
  • หน้าแรก
  • About Us

Picture
Regent of Bob


 นับตั้งแต่ปี ค.ศ.1920 ภาพยนตร์เงียบได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน นอกเหนือไปจากช่วยทำให้ภาพความตระการตาของบรรดาดาราขายและดาราหญิงแพร่ไปสู่เมืองเล็กๆ ตลอดทั่วสหรัฐ ชีวิตที่ปรากฏอยู่ในภาพยนตร์ได้ช่วยผนึกแนวคิดตามลัทธิเสพสุข และช่วยแพร่รสนิยมคนเมืองใหญ่ เครื่องแต่งกายคนเมืองใหญ่และวิธีการใช้ชีวิตของคนเมืองใหญ่ ออกไปสู่ชนบท
 
ดาราภาพยนตร์กลายเป็นผู้ก้าวนำด้านแฟชั่น รูดอล์ฟ วาเลนติโน กลายเป็นชายในฝันของผู้หญิงอเมริกันนับล้าน บรรดาผู้ชายพากันลอกเลียนแบบทรงผมใส่น้ำมันวาววับเหมือนรองเท้าหนังขัดมันแบบวาเลนติโน เช่นเดียวกับดาราสาว โจน ครอว์ฟอร์ด สวมบทบาทเป็นสาวปีกกล้า ตัดผมสั้นตามแบบฉบับของผู้หญิงในปี ค.ศ.1920 ที่ใช้ชีวิตอย่างหวืดหวา ทำให้บรรดาผู้หญิงจะเลียนแบบการแต่งหน้า ทรงผม และเสื้อผ้าของเธอไปทั่วทั้งสหรัฐฯ

 ในระหว่างสงคราม ภาพยนตร์จะเน้นโครงเรื่องด้านความรักชาติ บรรดาพระเอกบนจอในสมัยนั้น จะไว้ “ทรงเกลี้ยงเกลาแบบเด็กชาวอเมริกัน” เหมือน แวน จอห์นสัน และมีลักษณะเฉพาะตัวเหมือน สเปนเซอร์ เทรซี่จูน อัลลิสัน หรือทำเป็นลอนมาปิดตาข้างหนึ่งไว้เหมือนทรง “พีคคะบู” (Peek-a-boo คือเล่นซ่อนหา) ของเวโรนิกา เลค

 ทรงผมในตอนต้นๆ ช่วงปี ค.ศ.1930 ผมค่อนข้างสั้น โดยปกติมีลอนคลื่นเบาๆ และเป็นลอนหยิกสั้นๆ อยู่ตรงกกหูบริเวณลำคอ ครั้นทศวรรษล่วงไป ทรงผมสมัยนิยมค่อยๆ ยาวออก จนถึงปลายทศวรรษ ผมทรงบ๊อบมหาดเล็ก (Page-boy Bob คือผมเหยียดตรง งอนออกตอนปลาย) และการแต่งผมส่วนบนศีรษะเป็นลอนหยิกหรือถักเป็นเปียยังเป็นที่นิยมกันมาก

 ในระหว่างสงครามผู้หญิงบางคนแต่งทรงปงปาดูร์ สูงทางด้านหน้า และด้านข้างใบหน้า ในขณะเดียวกันการจัดทรงด้านหลังจะมีผมยาวและม้วนเป็นรูปตัวยู U บางรายก็ไว้ผมสั้นเรียกทรงผมหยิกว่า ทรงขนปุย หรือ เฟเธอร์-คัท (Feather-cut)

 ซึ่งจะมีความแตกต่างกันบ้างตามยุคตามสมัย โดยในช่วงก่อนหน้านี้ ผู้หญิงโดยปกติจะไว้ผมแสกกลางศีรษะ ทำเป็นลอนหยิกรอบใบหน้าแล้วดึงกลับไปทางด้านหลัง มีผมหน้าม้า (Bangs) หยิกเป็นลอนปิดหน้าผาก

 ในตอนช่วงต้นปี ค.ศ.1870 จะถักผมยาวเป็นเปียใหญ่ เป็นมวย หรือเป็นลอนหยิกคล้ายขั้นบันไดถอยล่นลงไปทางด้านหลังศีรษะ แต่ใช้ผมปลอมกันอย่างฟุ่มเฟือย 
 หลังปี ค.ศ.1884 นิยมทำรอยเว้าไว้บริเวณคอ คอเสื้อแบบตีบใช้กันอย่างกว้างขวาง ผู้หญิงส่วนใหญ่จึงไว้ผมเลยลำคอ และสูงขึ้นไปบนศีรษะเป็นมวยหรือเป็นลอน

เครื่องแบบวัฒนธรรมของชนกลุ่มย่อย

 ที่ผ่านมาแฟชั่นได้รับผลกระทบจากกลุ่มชนที่ต้องการแยกตัวเองออกไปจากวัฒนธรรมสายหลัก ปรากฏการณ์นี้เริ่มต้นมาตั้งแต่ช่วงปลายปี ค.ศ.1940 และ 1950 จากเท็ดดี้บอยในอังกฤษ และพวกบีตนิคที่ปรากฏขึ้นในสหรัฐฯ เหตุการณ์นี้ยังคงดำเนินอยู่ต่อเนื่องจนถึง ค.ศ.1950 และต้น 1960

-มอดส์ (Mods)

 มอดส์ (Mods) หรือ ร็อกเกอร์ (Rockers) เป็นคนหนุ่มสาวในอังกฤษเมื่อกลางช่วงปี ค.ศ.1960 ร็อกเกอร์เป็นพวกหยาบกระด้าง ขี่จักรยานยนต์และสวมเสื้อแจ็กเก็ตหนังฟอกสีดำ พวกร็อกเกอร์ใช้ชีวิตร่วมกับพวกมอดส์ ซึ่งลุกขึ้นแสวงหาความรัก วิธีการแสดงออกเฉพาะตน เขียนบทกวี และเมายา กระทู้แฟชั่นของพวกเขา คือ เก๋ ผมยาว แว่นทรงคุณย่าและความสวยงามตามแบบเอดเวอร์เดียนในการแย่งชิงกันครองความสวามิภักดิ์จากคนหนุ่มสาวชาวอังกฤษ พวกมอดส์เป็นฝ่ายชนะ ส่วนร็อกเกอร์ค่อยๆ เสื่อมความสำคัญไป

 ศูนย์กลางกิจกรรมของพวกมอดส์อยู่บนย่านถนนคาร์นาบี และบนถนนพอร์ตโทเบลโล ในกรุงลอนดอน ส่วนพวกเดอะ บีตเติลส์ (Beatles) วงดนตรีชื่อดังในขณะนั้นได้ปรับเครื่องนุ่งห่มจากแบบที่ได้รับอิทธิพลจากมอดส์ และทำให้สไตล์มอดส์ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย
 ความคิดข้อหนึ่งที่ถือว่าเป็นแกนกลางของแนวความคิดแฟชั่นสไตล์มอดส์ คือ ข้อคิดที่ว่าผู้ชายเช่นเดียวกับผู้หญิง มีสิทธิที่จะสวมเครื่องนุ่มห่มในแบบที่สง่างามและหรูหรา ซึ่งทำให้สไตล์ของมอดส์ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี

-ฮิปปี้

 ในขณะเดียวกัน เมื่อฮิปปี้ปรากฏตัวขึ้นในสหรัฐ ทำให้เกิดละลอกคลื่นขึ้นในอุตสาหกรรมแฟชั่นเช่นกัน หลังจากการรวมกลุ่มฮิปปี้เมื่อปี ค.ศ.1967 สื่อประโคมข่างเครื่องแต่งกายประเพณีฮิปปี้ที่เต็มไปด้วยสีสันเป็นที่คุ้นตา คือ ผมยาวลงไปถึงไหล่ หรือยาวยิ่งไปกว่านั้นทั้งผู้หญิงและผู้ชายไว้ครา มีสายคาดศีรษะ และผู้ชายสวมลูกปัดแห่งรัก ผู้หญิงสวมกระโปรงยาว และใช้เครื่องแต่งกายประเพณีเหมือนพวกยิปซี

 พวกฮิปปี้นำเครื่องแต่งกายประเพณ๊เท่าที่จะจินตนากาดรได้มาผสมเข้าด้วยกัน หาเครื่องนุ่มห่มที่ใช้แล้ว ซึ่งซื้อหาจากร้านขายของใช้แล้ว จึงถึงปี ค.ศ.1968 เคน สกอตต์ นักออกแบบชาวอเมริกัน ออกแบบคอลเลคชั่นซึ่งรวมไปถึงสิ่งที่เขาเรียกว่า แบบฮิปปี้-ยิปซี (Hippie-gypsy Look)

-แอฟโฟร (Afro)

 ทรงผมแอฟโพร (Afro) ซึ่งโป่งและปุกปุย อาศัยข้อได้เปรียบที่ผมของชาวอเมริกันเชื้อสายอัฟริกาส่วนใหญ่หยิกอยู่แล้วตามธรรมชาติ เป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย ทั้งผู้ชายและผู้หญิงในช่วงปลายปี 1960 และช่วงต้นปี 1970 และยังคงอยู่ในสมัยนิยมมาตั้งแต่นั้น

 บรรดาสไตล์แบบแอฟโพรเปลี่ยนไปเป็นระยะๆ ถึงปี ค.ศ.1976 สไตล์แอฟโฟรถูกตัดให้สั้นลงและแนบกับศีรษะมากขึ้น การถักแถวเม็ดข้าวโพด (Corn-row Braids) อันเป็นหวีการจัดผมออกเป็นกระจุกเล็กๆ ตามขนบธรรมเนียมชาวอัฟริกัน เป็นที่นิยมในบรรดาผู้หญิง เมื่อช่วงปลายปี ค.ศ.1970 และหลังจากนั้น
ตำนานการซอยผม

ตำนานการซอยผม

 ประวัติศาสตร์ของการซอยผมตามแบบมาตรฐานมีมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1965 ในนครนิวยอร์กสหรัฐอเมริกา ช่างผมได้ค้นคว้านำหลักวิชาเรขาคณิต มาประกอบการออกแบบทรงผมแบบทรงต่างๆ แต่ยังไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร บุคคลส่วนมากยังคงนิยมทรงผมแบบยีหัวโตเหมือนเดิม

 ถึงช่วงปลายปี ค.ศ.1960 เด็กผู้หญิงและหญิงสาวได้รับอนุญาตให้ไว้ผมเหยียดตรงและยาว เด็กผู้หญิงที่ผมไม่ได้กเหยียดตามธรรมชาติต้องไปยืดรอยหยิกออกจากผมด้วยเตารีดผ้า ความนิยมผมยาวเหยียดตรงยังคงดำเนินอยู่ต่อไป 

 โดยนักออกแบบแฟชั่นฝรั่งเศส กูแรช และการ์แด็ง และนักออกแบบแฟชั่นชาวอังกฤษ แมรี ควอนต์ พากันตัดผมนางแบบจนเกือบเป็นรูปทรงเรขาคณิตในคอลเลคชั่น กึ่งทศวรรษ ต่อมา ปี ค.ศ.1968 วิดัล ซาสซูน ผู้นำหลักการออกแบบผมมาดัดแปลงประกอบการซอยที่เรียกว่า ตัดแบบเรขาคณิตทำให้ชื่อเสียงดังไปทั่วโลก ช่างเสริมสวยทั้งในประเทศและต่างประเทศพากันไปเป็นลูกศิษย์ เพื่อศึกษาหลักการออกแบบทรงผมเป็นจำนวนมาก

 นับว่าเป็นหลักมาตรฐานขงการออกแบบทรงผมที่ทุกคนยอมรับ เพราะสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบปฏิบัติในการประกอบอาชีพเทคนิคการซอยแบบผม แต่ละสมัยไม่แตกต่างกันมาก เพื่อต้องการให้เป็นพื้นฐานของแนวทางออกแบบผมได้มาตรฐาน ปฏิบัติได้แม่นยำผมเข้ารูปทรงดี

 การตัดซอยผมควรจะต้องมีศิลปะคือ ให้มองดูแล้วมีการเคลื่อนไหว รูปหน้าและความแตกต่างของโครงสร้างเส้นผมเปลี่ยนแปลงไปตามลักษณะของแต่ละประเทศ คนเอเซียมีผมดำ คนยุโรปมีผมสีทอง ส่วนคนผิวดำหรือที่เรียกว่านิโกรมีเส้นผมหยิก ผมมี 3 ชั้น คือ ผมชั้นนอก ผมชั้นใน และผมชั้นกลาง ศีรษะของคนจะมีขวัญหลายรูปแบบแตกต่างกัน ทำให้การซอยผมผิดเพี้ยนไป ดังนั้นช่างผมจะต้องศึกษาเพื่อแก้ไขปัญหาให้ได้

การซอยผมแบบมาตรฐาน

 ที่นิยมคือ การซอยซิกแซ็ก เป็นเทคนิคที่ทำให้ผมดูนุ่มนวลเป็นธรรมชาติไม่ต้องใช้มีดโกนซอยอีกครั้งหนึ่ง และนี่คือจุดได้เปรียบซึ่งการซอยผมแบบซิกแซ็ก ทำให้เกิดผลดี คือ ผมดูเบาบาง เส้นผมจะพลิ้วเป็นธรรมชาติ

 การซอยผมซิกแซ็ก จะทำให้ผมดูหนาหรือบางอย่างไรก็ได้ หากซิกแซ็กลึกผมหนาก็จะทำให้ดูบาง หากซิกแซ็กตื้นผมบางก็จะทำให้ดูหนา
 การซิกแซ็ก ที่เส้นกรอบผมทำให้ใบหน้าดูไม่แข็ง และดูเป็นธรรมชาติขึ้น โดยจะสามารถทำให้ผมบางโดยดูแล้วความยาวไม่สั้นลง และทำให้ได้ผมที่พลิ้วสลวย หวีและจัดรูปทรงได้ง่าย ตลอดจนเทคนิคการซอยผมก็ยังเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป เพราะต้องการผมประเภทนุ่มสลวยเป็นธรรมชาติ

 เช่นเดียวกับการซอยผมด้วยใบมีด ซึ่งเป็นวิธีการซอยแบบเก่ากว่ากรรไกร และยังมีเทคนิคการซอยอีกวิธีหนึ่ง ที่จะได้ผมที่นุ่มสลวยเป็นธรรมชาติ โดยมากมักได้ผมที่บางและเบา การซอยด้วยใบมีดอาศัยหลักเช่นเดียวกันกับกรรไกร แต่วิธีการซอยและผลที่ออกมาจะไม่เหมือนกัน

ซึ่งการซอยผมด้วยมีดโกนมี 3 วิธีดังนี้

1.การถากและตัด โดยจะถากผมสูงหรือต่ำ ขึ้นอยู่กับความต้องการผมหนาหรือบาง เมื่อถากมาถึงปลายผมตามต้องการ ให้ออกแรงกดผมก็จะขาด
 
2.การตัดและดึงเข้าหาตัว โดยกดปลายมีดลงบนเส้นผม ออกแรงดึงเข้าหาตัวเล็กน้อยผมจะขาด ผมที่ได้จะมีลักษณะค่อนข้างหนาเพราะไม่ได้ถากผม

3.การตัดและโยกผม โดยวิธีกดใบมีดไว้และโยกผมหรือเหวี่ยงผมไป ให้เคลื่อนมีดโกนตามด้วย ผมจะขาด และถากจากแรงเหวี่ยงเล็กน้อย ผมจะไม่หนาเกินไป ในขณะเดียวกันก็ไม่บางเกินไป

 ที่ผ่านมามีคนเคยนิยมใช้มีดโกนในการซอยผม เพราะทรงผมโดยมากเป็น ทรงผมที่นุ่มสลวยเป็นธรร
มชาติ หลังจากนั้นผมกลับกลายเป็นตรงที่มีน้ำหนัก เส้นผมคมชัด โดยเฉพาะที่เส้นกรอบ เมื่อความนิยมทรงผมเปลี่ยนไปกรรไกรจึงเข้ามาแทนที่มีดโกน นับจากนั้นมาเป็นเวลานานทีเดียว ที่กรรไกรได้ยึดครองอยู่ในวงการซอยผมทั่วทุกมุมโลกให้การยอมรับอย่างเต็มที่ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับอิทธิพลของทรงผมเป็นตัวกำหนดนั้นเอง

วิธีการซอยผมทรงบ๊อบ

ผมทรงบ๊อบเป็นทรงผมอมตะ และเป็นทรงที่คงอยู่คู่แฟชั่นตลอด อาจจะเปลี่ยนแปลงไปบ้างตามแฟชั่นแต่ก็ยังคงไม่ทิ้งหลักเก่าๆ มาประสมประสานกับหลักใหม่ๆ ผมทรงบ๊อบจึงเป็นทรงที่ไม้ล้าสมัย มีผู้ที่นิยมไว้ทรงบ๊อบตั้งแต่เด็กจนถึงผู้ใหญ่ การซอยผมทรงบ๊อบมีวิธีการปฏิบัติ ดังนี้

ขั้นตอนการตัดซอย

1.การแบ่งผมด้านหน้า
 ส่วนใหญ่แล้วจะแบ่งผมระหว่างกลางคิ้วทั้ง 2 ข้าง ให้เป็นแนวตรงขึ้นไปกลางศีรษะ เก็บส่วนนี้ไว้ซอยหลังสุด ส่วนการซอยผมด้านหน้านี้ ต้องดูแบบทรงผมตามต้องการ โดยรวบผมช่อนี้ไว้และหนีบผมด้วยปากเป็ด

2.การแบ่งผมด้านข้าง
 ใช้แนวผมด้านหลังใบหูเป็นเกณฑ์ จากข้างหูเป็นแนวตรงขึ้นไปกึ่งกลางศีรษะ จากข้างหูเป็นแนวตรงขึ้นไปกึ่งกลางศีรษะ แบ่งผมแนวขวาง เริ่มช่อที่ 1 ตรงบริเวณจอน ความหนาของช่อผมประมาณ 1 นิ้ว ผมด้านข้างจะแบ่งประมาณ 5-6 ช่อ การแบ่งผมซอยทีละช่อ เริ่มซอยจากช่อที่ 1 เรียงไปตามลำดับ จำนวนช่อของผมที่แบ่งขึ้นอยู่กับความหนาและความบางของเส้นผม

3.การแบ่งผมด้านหลัง
 จากแนวผมช่อที่ 1 กลางศีรษะ แบ่งจากกึ่งกลางศีรษะด้านหลัง ลงมาหาท้ายทอย โดยแบ่งผมด้านหลังออกเป็น 2 ส่วนเท่าๆกัน ต่อจากนั้นแบ่งผมตรงบริเวณท้ายทอย ให้เป็นมุมสามเหลี่ยมทีละช่อ ช่อละ 1 นิ้ว ประมาณ 7 ช่อ

4.การซอยผมด้านหลัง
 ให้ซอยผมเหลือไว้ ½ นิ้ว ตามแนวท้ายทอย ให้ผู้รับบริการก้มศีรษะเล็กน้อย ฉีดน้ำให้เปียก และหวีผมลงมาแนบท้ายทอย ซอยให้เหลือความยาวตามความต้องการ โดยไม่ต้องยกมือขึ้นซอยผมแนบท้ายทอยและตัดเป็นแนวตรง ผมช่อที่ซอยจะเป็นฐานของการซอยผมช่อต่อไป

5.เริ่มซอยผมช่อที่ 2
 โดยแบ่งผมลงมาเท่ากับช่อผมที่ได้แบ่งไว้ ไม่ควรแบ่งผมซอยให้แต่ละช่อหนามาก เพราะจะทำให้มองไม่เห็นฐานผมที่ซอยไปแล้ว โดยการซอยจะได้ไม่ต้องใช้หวีเปิดผม ดูฐานของผมที่ซอยไปแล้ว ตลอดเวลา หวีผมที่จะซอยมาทับช่อแรก ซอยหาความยาว ของผมเท่ากับฐาน หวีผมให้แนบท้ายทอย ตัดเสมอช่อไกด์ไลท์
 การซอยผม ให้แบ่งผมทั้งข้างซ้ายและข้างขวาลงมาเท่าๆ กัน ซอยเหมือนกันทุกช่อจนหมดผมด้านหลัง และในขณะทำการซอยผมจะต้องฉีดน้ำให้ผมเปียกอยู่เสมอ เพื่อสะดวกในการซอยผม

6.การซอยผมด้านข้าง
 ให้ซอยผมลงมาทีละช่อตามที่แบ่งไว้ หวีผมให้ตรงลงมาและตัดความยาวผมด้านข้าง เท่ากับความยาวของผมด้านหลัง ให้มุมผมด้านข้างกับผมด้านหลังต่อเชื่อมเป็นแนวเดียวกัน คือ แนวตรงขณะซอยผมไม่ควรยกมือขึ้นซอยผม

7.การซอยผมเพื่อเชื่อมต่อกัน
 ให้ปล่อยผมช่อที่แบ่งไว้ลงมา หวีผมที่จะซอยทับผมช่อฐานซอยผมเท่ากับช่อฐาน โดยไม่ต้องยกมือขึ้นซอย ซอยผมทุกช่อ จนหมดผมด้านข้าง ผมด้านข้างอีกด้านหนึ่ง ก็แบ่งผมลงมาซอยเช่นเดียวกัน เมื่อตัดเสร็จทั้งสองข้างแล้ว ก็ต้องตรวจผมให้มีความยาวเท่าๆ กัน โดยหวีผมลงมาตรวจอย่างละเอียด

8.การซอยผมด้านหน้า
 ทำได้ 2 แบบ คือ 
 -แบบผมหน้าปัด หวีผมแสกจากข้างซ้ายหรือข้างขวา หรือจากแนวที่ถนัด แบ่งผมเป็นรูปสามเหลี่ยม โดยแบ่งจากแนวแสกเข้าไป 3 นิ้ว และอีกด้านหนึ่งแบ่งผมลงมากึ่งกลางคิ้ว หรือผมที่แบ่งแล้วลงมาซอยให้ความยาวอยู่ระดับตา ซึ่งจะใช้เป็นฐานและช่อผมต่อไปก็แบ่งผมลงมาเช่นเดียวกัน ใช้มือข้างซ้ายคีบผม โน้มขึ้นซอยให้เท่ากับฐาน ซอยเช่นนี้จนหมดผมที่แบ่งไว้ เสร็จแล้วก็ใช้หวีซอยผมตรวจแบบตามขวาง และซอยให้พอดีอีกครั้งหนึ่ง
 -แบ่งผมหน้าม้า เหมาะสำหรับเด็กหรือวัยรุ่น วิธีซอยก็แบ่งผมจากกลางศีรษะลงมาซอยความยาวระดับตา และใช้หวีซอยตรวจแบบขวางของผมอีกครั้ง โดยตัดส่วนเกินจากแนวผมที่ซอยไว้ให้พอดีกัน เมื่อซอยผมเสร็จแล้ว เวลาผมแห้งจะมีความบาง
 การซอยผมด้านหน้า จะซอยได้หลายรูปแบบ อาจเปลี่ยนแปลงตามแฟชั่น หรือความนิยมของแต่ละสมัย บางครั้งผมด้านหน้าอาจจะมาในรูปของความยาวเท่ากับด้านข้าง ทั้งข้างซ้ายและข้างขวาก็ได้ หรือจะเป็นผมซอยทรงบ๊อบแสกกลาง มีความยาวทั้งข้างซ้ายและข้างขวาเท่ากัน
 ผมทรงบ๊อบ ปลายผมจะมีความยาวเท่ากันทุกเส้น จะให้ยาวหรือสั้น ขึ้นอยู่กับฐานที่วางไว้

ความรู้เรื่องการซอยผม

 การตัดซอยผม ควรจะต้องมีศิลปะ คือให้มองดูแล้วมีการเคลื่อนไหว รูปหน้าและความแตกต่างของโครงสร้างเส้นผมสามารถเปลี่ยนแปลงไปตามลักษณะของแต่ละบุคคล แต่ละภูมิภาค ซึ่งต่างกันที่ลักษณะเส้นผม อาทิ คนเอเชียมีผมดำ คนยุโรปมีผมสีทอง ส่วนคนผิวดำหรือที่เรียกว่านิโกรมีเส้นผมที่หยิก ซึ่งช่างตัดผมจะต้องเข้าใจถึงลักษณะเส้นผมของลูกค้าเป็นประการแรกๆ และประเด็นสำคัญ

-เรียนรู้โครงสร้างเส้นผม ก่อนการออกแบบ-ตัดซอย

 นอกจากที่เราจะต้องรู้เรื่องโครงสร้างเส้นผมแล้ว จะต้องรู้ลึกไปถึงส่วนประกอบของเส้นผมด้วยว่า ในผมหนึ่งเส้นจะแบ่งชั้นผมออกเป็น 3 ชั้นคือ ผมชั้นนอก ผมชั้นใน และผมชั้นกลาง(แกนผม) ชั้นของเส้นผมแต่ละชั้นจะทำหน้าที่ต่างกัน ซึ่งแต่ละชั้นเพื่อประโยชน์ของการทำเคมีเป็นสำคัญ

 ไม่เพียงแต่ชั้นของเส้นผมเท่านั้นที่ต้องทำความเข้าใจ ศีรษะของคนก็ยังมีขวัญหลายรูปแบบที่ต่างกันออกไป ซึ่งจะทำให้มาตรฐานของการตัดซอยผมผิดเพี้ยนต่างกันออกไป ต้องทำความเข้าใจเช่นกัน

 สำหรับวัตถุประสงค์หลักของการตัดซอยผมนั้น ก็เพื่อจะกำจัดความหนาแน่นของเส้นผม การซอยผมถ้าผมแห้ง ควรจะใช้กรรไกรฟันไล่เพื่อลดความหนา ส่วนการซอยผมเปียกควรใช้กรรไกรธรรมดาหรือมีดโกนในตัดซอย

 ซึ่งลักษณะของเส้นผม จะเป็นตัวกำหนดจุดตั้งต้นว่า ควรจะซอยผมใกล้กับหนังศีรษะได้มากน้องแค่ไหน เช่นกรณีเส้นผมที่มีความละเอียด สามารถซอยผมให้ใกล้กับหนังศีรษะได้มากกว่าเส้นผมหยาบ เหตุผมก็คือ ถ้าซอยผมหลาบใกล้กับหนังศีรษะมากเกินไปปลายผมสั้นๆที่ซอยไว้ จะโผล่แทงขึ้นด้านบน ส่วนผมที่ละเอียดนั้น ผมจะอ่อนและยืดหยุ่นได้ง่าย ถึงจะซอยผมให้สั้นผมก็ยังคงเรียบติดกับศีรษะ ไม่กระดกขึ้นมา

 การซอยผมนั้นจะซอยผมออกมากน้อยเพียงใด ก็ขึ้นอยู่กับทรงผมที่ตกแต่งให้เป็นรูปทรง

 -เส้นผมละเอียด ตั้งต้นซอยห่างจากหนังศีรษะประมาณ 1/2 นิ้ว ถึง 1 นิ้ว

 -เส้นผมธรรมดา ตั้งต้นซอยห่างจากหนังศีรษะ 1 นิ้ว ถึง 1 ½ นิ้ว

 -เส้นผมหนา ตั้งต้นซอยผมห่างจากหนังศีรษะ 1 ½ นิ้ว ถึง 2 นิ้ว

 อีกหลักการหนึ่งที่มีความสำคัญในการซอยไม่แพ้หลักการใด คือ การยกมือขึ้นซอยตามระดับองศา จะประกอบด้วย 90 องศา 180 องศา 270 องศา และ 360 องศา ซึ่งหลักการยกมือในแต่ละระดับนั้นจะให้ผลลัพธ์ของการตกของเส้นผมที่แตกต่างกัน

เรียนรู้โครงสร้างศีรษะ
ก่อนการวางกรอบทรง

 Reference point หรือจุดอ้างอิงที่ใช้ในการเปลี่ยนแปลงผมบนศีรษะ มีตั้งแต่ส่วนของหู จอนไลน์ ท้ายทอย (จุดทุย) หรือ apex (จุดด้านบนสุดของกะโหลกศีรษะ) ซึ่งหากทำความเข้าใจในเรื่องจุดต่างๆ ในโครงสร้างทั้งหมดของศีรษะ ก็จะสามารถนำมาใช้ในการออกแบบทรงผมได้อย่างที่ต้องการ

สิ่งที่สำคัญในการเรียนรู้โครงสร้างของกะโหลกศีรษะ

 -เป็นเครื่องการันตีว่าจะทำให้การออกแบบทรงผมได้ชัดเจนแน่นอน ไม่ผิดพลาด

 -จะช่วยให้ตัดผมออกมาได้อย่างถูกต้องแม่นยำ

 -จะช่วยให้สามารถแก้ไขการออกแบบทรงผม เมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับรูปกะโหลกศีรษะ โครงสร้างศีรษะที่อาจไม่เหมือนกันของลูกค้าในแต่ละรูปแบบ ทำให้สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงวิธีตัดไปตามสถานการณ์ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

จุดต่างๆ บนกะโหลกศีรษะ ที่มีผลต่อการตัดซอยผม

 -Parietal ridge เป็นจุดกำหนดที่อยู่ข้างขมับดูได้จากการเอาหวีไปแนบที่ข้างขมับให้ปลายหวีชี้ขึ้น จุดที่ศีรษะโค้งออกไปห่างจากหวีนั่นคือ parietal ridge  

 -Occipital bone เป็นจุดที่อยู่ด้านหลังศีรษะบริเวณท้ายทอย ช่วงจุดทุยของกะโหลกศีรษะ

 -Apex เป็นจุดที่อยู่ด้านบนสุดของรูปกะโหลกศีรษะ

 -สี่มุมของกะโหลกศีรษะ จุดสี่มุมนี้จะอยู่ที่บริเวณข้างขมับสองจุดซ้ายขวา และข้างท้ายทอยสองจุดซ้ายขวาหากดูจากรูปศีรษะด้านบนมองลงมา จะเห็นเส้นทะแยงนั่นเอง
 จุดทั้งหมดนี้อาจไม่จำเป็นจะต้องใช้ในการทำงานหรืออ้างอิงทุกจุดแบบละเอียดในการตัดผม แต่จุดเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้เราทราบว่าเป็นจุดที่เปลี่ยนแปลงรูปแบบของศีรษะว่าจะให้มีความทุยหรือแบบ การเปลี่ยนแปลงแก้ไขในบริเวณนี้จะมีผลต่อการตัดผม
 ยกตัวย่างเช่น บริเวณด้านข้างซ้ายและขวาด้านหน้า เราสามารถตัดแล้วแสดงให้เห็นผลได้ชัดเจนที่สุด ไม่ว่าจะตัดให้เห็นจอบคมตรงชัด หรือให้ผมดูพลิ้วซิกแซก

พื้นที่ของกะโหลกศีรษะ

 หากทำความเข้าใจในพื้นที่ส่วนต่างๆ ของศีรษะอย่างแม่นยำ ก็จะทำให้ท่านประสบความสำเร็จในการตัดผมด้วยทักษะที่ถูกต้อง โดยมีจุดต่างๆ ที่ใช้เรียกขานและนำไปตัดได้ดังนี้

 -จุด Top เป็นจุดตัดระหว่าง parietal และ apex ที่ด้านหน้า สามารถตัดผมจากจุดนี้ได้โดยเริ่มจาก parietal แล้วทำไล่ไปจนรอบศีรษะ

 -จุด Front เป็นจุดตัดจากหลังใบหูด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่ง โดยพื้นที่ด้านหน้าทั้งหมดคือ จุดที่เรียกว่าจุดด้านหน้า

 -จุด Side เป็นจุดที่อยู่ด้านข้างของศีรษะตั้งแต่หลังใบหูมาด้านหน้า เป็นจุดที่อยู่ใต้จุด Top ลงมานั่นเอง

 -จุด Crown เป็นจุดที่อยู่ด้านบนสุดของศีรษะ แต่อยู่ด้านหลังของจุด top มีหลายคนที่มีปัญหาเนื่องจากจุด Crown แบนทำให้ต้องแก้ไขเวลาตัดผมที่จุดนี้มากที่สุด ดังนั้นช่างตัดผมต้องให้ความสำคัญในการแก้ไขที่จุดนี้มากที่สุด

 -จุด Nape เป็นจุดที่อยู่บริเวณล่างสุดด้านหลังของศีรษะ บริเวณก้านคอกับท้ายทอยหรืออยู่ใต้จุดทุยลงมา

 -จุด Back เป็นจุดที่ไล่จากจุดบนสุดของศีรษะไล่ลงมาตั้งแต่กลางใบหูทั้งสองข้างส่วนด้านหลังทั้งหมด

 -จุด Fringe คือบริเวณหน้าผากหรือหน้าม้า โดยเริ่มจากบริเวณจุด apex ลากลงมาที่ขอบด้านหน้าของผมทั้งสองข้าง เป็นบริเวณที่ใช้ตัดผมเพื่อกำหนดหน้าม้า


Powered by Create your own unique website with customizable templates.